ยินดีต้อนรับเข้าสู่ : https://satakarn.blogspot.com/
เว็บบล็อกเพื่อการศึกษาภาษาไทย และภาษาล้านนา
จัดทำโดย ครูอิ่นคำ ศตกาญจน์ โรงเรียนบุญเรืองวิทยาคม
เว็บบล็อกเพื่อการศึกษา ภาษาไทย ภาษาล้านนา และส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนและผู้สนใจทั่วไป

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


เศรษฐกิจพอเพียง*  เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา และมีการพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสีศ.เสน่ห์ จามริกศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ฉบับที่ 9 และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูเป็นอย่างสูงจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน  โดยมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่ในขณะเดียวกัน บางสื่อได้มีการตั้งคำถามถึงการยกย่องขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีขององค์การ 
* จากสารานุกรมวิกิพีเดีย 
ผู้รู้และประชาชนทั่วไปอาจจะสับสนในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่าคืออะไรกันแน่  ทำเพียงเล็กน้อยแค่พอเพียงเมื่อใดรายได้จะเพิ่มขึ้น เมื่อใดจะมั่งมี เมื่อใดจะร่ำรวย  เศรษฐกิจของประเทศจะก้าวหน้า จะมั่นคง และมั่งคั่งได้อย่างไร โดยหลักการและเป้าหมายแล้ว ผู้เขียนเห็นว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจและทำให้เราประสบความสำเร็จในการสร้างฐานะ ความเป็นอยู่เศรษฐกิจ ตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว และประเทศชาติ  แต่อุปสรรคก็น่าจะมาจากความเข้าใจ หลาย ๆ คนอาจจะไม่ตื่นเต้นกับคำว่าพอเพียงนัก คนทั่วไปอาจจะคิดว่าเพียงแค่พออยู่พอกิน พอใช้ ที่เหลือกินก็นำไปขายเก็บเงินไว้ใช้บ้างตามที่จำเป็น  ผู้เขียนคิดว่าความคิดเช่นนั้นก็มีส่วนถูกต้องสำหรับความหมายของคำว่า "พอเพียง"  คือ ถูกต้องบางส่วนเท่านั้น  ชื่อของปรัชญานี้อาจจะไม่สะดุดใจคนโดยทั่วไป แต่เมื่อดูเป้าหมายแล้วถือว่าสุดยอด  ต้องพิจารณาหลักการ องค์ประกอบ แนวปฏิบัติ แล้วท่านจะเห็นคุณค่าและประโยชน์มหาศาลของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คำว่า "พอเพียงเป็นคำที่สอดคล้องกับคำว่าสายกลาง"  คือพอดี พอประมาณ  เป็นการเตือนใจให้เราทำอะไรด้วยสติปัญญา ด้วยเหตุผล  หลักปรัชญานี้เป็นการก้าวหน้าไปอย่างมั่นคงไม่สะเพร่า วู่วาม มีภูมิคุ้มกันคือความรู้ ความรอบคอบ เหตุผลและคุณธรรมคอยป้องกัน ความพลาดพลั้ง เสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้  เพราะโดยทั่วไปคนเรามีความอยาก ความโลภเป็นพื้นฐานอยู่แล้วเมื่อได้ยินชื่อปรัชญาที่ธรรมดา ไม่จูงใจแล้วก็มักจะไม่สนใจ ไม่เห็นคุณค่า  แต่ถ้าบอกว่า "ปรัชญาแห่งความร่ำรวย เป็นเศรษฐีภายใน 2 - 3 ปี "  คนส่วนมากเมื่อได้เห็นได้ยินก็ต้องตาโต หูผึ่งแน่นอนถึงแม้ต้องลงทุนด้วยเงินก้อนโต แต่ผลที่จะเกิดขึ้นไม่มีใครรับประกัน แต่ก็มีคนอยากเสี่ยง ยอมเสี่ยงเพราะความอยากรวย  
                                                                                                           wm.                                        

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม

 สุภาษิต คำคมล้านนาและปรัชญาฯ 

 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๑ 

 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๒  

 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๓   

 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๔  


................................................................................................................
แหล่งอ้างอิง
https://www.google.co.th/search?q=ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                      

ไม่มีความคิดเห็น: