ยินดีต้อนรับเข้าสู่ : https://satakarn.blogspot.com/
เว็บบล็อกเพื่อการศึกษาภาษาไทย และภาษาล้านนา
จัดทำโดย ครูอิ่นคำ ศตกาญจน์ โรงเรียนบุญเรืองวิทยาคม
เว็บบล็อกเพื่อการศึกษา ภาษาไทย ภาษาล้านนา และส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนและผู้สนใจทั่วไป

วรรณกรรมท้องถิ่น

    วรรณกรรมท้องถิ่น หรือวรรณกรรมพื้นบ้าน 

วรรณกรรมท้องถิ่น หรือวรรณกรรมพื้นบ้าน หมายถึง ผลงานที่เกิดขึ้นจากการใช้ภาษาโดยการพูดและการเขียนของกลุ่มชนในแต่ละท้องถิ่น เช่น วรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือ วรรณกรรมพื้นบ้านภาคอีสาน วรรณกรรมพื้นบ้านภาคใต้ เป็นต้น ซื่งในแต่ละท้องถิ่นก็จะใช้ภาษาพื้นบ้านในการถ่ายทอดเป็นเอกลักษณ์  ซึ่งเรื่องราวต่าง ๆ ที่ถ่ายทอดลงในวรรณกรรมท้องถิ่นมักจะเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ความเชื่อ ค่านิยม ประเพณี  วัฒนธรรม ตลอดถึงเรื่องราวของคนในสังคมนั้น ๆ
วรรณกรรมที่สื่อเรื่องราวด้านต่างๆ ของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น จารีตประเพณี ชีวิตความเป็นอยู่ สภาพเศรษฐกิจและสังคม ทัศนคติ ค่านิยม ตลอดจนความเชื่อต่างๆ ของบรรพบุรุษ อันเป็นพื้นฐานของความคิดและพฤติกรรมของคนในปัจจุบัน


ลักษณะของวรรณกรรมพื้นบ้าน

  1. เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาจากมุขปาฐะ คือ เป็นการเล่าสืบต่อกันมาจากปากต่อปากและแพร่หลายกันอยู่ในกลุ่มชนท้องถิ่น
  2. เป็นแหล่งข้อมูลที่บันทึกข้อมูลด้านขนบธรรมเนียมประเพณีของกลุ่มชนท้องถิ่น อันเป็นแบบฉบับให้คนยุคต่อมาเชื่อถือและปฏิบัติตาม
  3. มักไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง เพราะเป็นเรื่องที่บอกเล่าสืบต่อกันมาจากปากต่อปาก
  4. ใช้ภาษาท้องถิ่น ลักษณะถ้อยคำเป็นคำง่ายๆ สื่อความหมายตรงไปตรงมา
  5. สนองความต้องการของกลุ่มชนในท้องถิ่น เช่น
    1. เพื่อความบันเทิง
    2. เพื่ออธิบายสิ่งที่คนในสมัยนั้นยังไม่เข้าใจ
    3. เพื่อสอนจริยธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีและพฤติกรรมด้านต่างๆ

ประเภทของวรรณกรรมพื้นบ้าน

  1. จำแนกโดยอาศัยเขตท้องถิ่นได้ ๔ ประเภท คือ
    1. วรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือ (วรรณกรรมล้านนา)
    2. วรรณกรรมพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    3. วรรณกรรมพื้นบ้านภาคใต้
    4. วรรณกรรมพื้นบ้านภาคกลาง
  2. จำแนกตามวิธีการบันทึก ได้ ๒ ประเภท คือ
    1. วรรณกรรมมุขปาฐะ หมายถึง วรรณกรรมที่ใช้วิธีเล่าจากปากต่อปาก ไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
    2. วรรณกรรมลายลักษณ์อักษร หมายถึง วรรณกรรมที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

                   แหล่งอ้างอิง   http://th.wikipedia.org/wiki/วรรณกรรมพื้นบ้าน
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

          วรรณกรรมล้านนา ๑   วรรณกรรมล้านนา ๒   วรรณกรรมค่าวฮ่ำ    
          นิทานพื้นบ้านภาคกลาง   วรรณกรรมท้องถิ่นเชิงเปรียบเทียบ   
       วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน   วัฒนธรรม ๔ ภาค   เดินทางสู่วิถีไทย 
       วรรณกรรมภาคอีสาน   เพลงกล่อมเด็ก ๔ ภาค   นิทานพื้นบ้าน 
       วรรณกรรมท้องถิ่นคืออะไร    สุภาษิต คำคมล้านนา 

------------------------------------------------------------------------------------

ตารางวิเคราะห์โครงสร้างรายวิชา

รายวิชา   วรรณกรรมท้องถิ่น   รหัสวิชา ...ท30208...... ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5/2

จำนวน …1.0……. หน่วยกิต เวลาเรียน ……2….... ชั่วโมง/สัปดาห์

---------------------------------------------------------

สัปดาห์

ที่

ชื่อหน่วยการเรียนรู้

มาตรฐาน/ตัวชี้วัด/
ผล
การเรียนรู้




สาระสำคัญ

เวลา

(ชั่วโมง)

น้ำหนัก

คะแนน

(100)


1 - 2

 

1.สุภาษิต คำคม

  และปริศนาคำทาย


1

- รวบรวมวรรณกรรมท้องถิ่นประเภทคำคม สุภาษิตและปริศนาคำทาย


4


5


3 - 4


2

ให้ความหมาย คำคม สุภาษิต และตอบปริศนาคำทาย


4


6


5 - 6

 

2.นิทานพื้นบ้าน


3

รวบรวมนิทานท้องถิ่นภาคเหนือ อิสาน กลาง และใต้


4


6


7


4

วิเคราะห์ วิจารณ์ บอกสาระสำคัญ และข้อคิดจากนิทานพื้นบ้านได้..


2


5


8 - 9

 

 

3. เพลงพื้นบ้าน


5

รวบรวมเพลงกล่อมเด็ก บอกจุดประสงค์ วิเคราะห์เนื้อหาและภาษาที่ใช้


4


5


10- 11


6

รวบรวมเพลงโฟล์คซอง เพลงพื้นบ้านภาคเหนือ กลาง อิสาน  และใต้


4


5


12– 13


7

สามารถร้องเพลงโฟล์คซองอย่างน้อยคนละ ๒  เพลง


4


6


14


8

วิเคราะห์ วิจารณ์ คุณค่า เพลงพื้นบ้าน เพลงโฟล์ค
ซอง
ด้านเนื้อหา และการใช้ภาษา


2


5


15 - 16

 

 

4.ประวัติและตำนาน


9

รวบรวมประวัติ หรือตำนานสถานที่สำคัญที่อยู่ตามภาคต่างๆ


4


6


17– 18


10

วิเคราะห์ วิจารณ์ คุณค่า การใช้ภาษาประวัติและตำนานภาคต่างๆ


4


5

.

.

 

 

 

 

 

สัปดาห์

ที่

 

ชื่อหน่วยการเรียนรู้

 

ผลการเรียนรู้

สาระสำคัญ

เวลา

(ชั่วโมง)

น้ำหนัก

คะแนน

(100)


19 - 20

 

11

ศึกษา วิเคราะห์วรรณกรรมพื้นบ้านประเภทอื่นๆ เช่นค่าว คำให้พรปีใหม่ ซอ

4

6

 

 

 

 

 

 

รวม

40

60

สอบกลางภาค

 

20

สอบปลายภาค

 

20

รวม

 

100

 

-------------------------------------------------------------------------------------------------

มอบหมายงานนักเรียน ภาคเรียนที่ ๑
วรรณกรรมท้องถิ่น  ม. ๕/๒  (บ.ร.ว.)
-----------------------------------
       งานที่ได้มอบหมายให้นักเรียนทำ คือ ให้นักเรียนรวบรวมวรรณกรรมท้องถิ่นภาคเหนือ  ภาคอิสาน  ภาคใต้ และภาคกลาง  ศึกษาความหมาย คุณค่า ข้อคิดของวรรณกรรมต่าง ๆ เหล่านั้นด้วย    ให้นักเรียนรวบรวมไว้ในเว็บมี ดังนี้บล็อกเพื่อการศึกษาภาษาไทย ของนักเรียน
            ๑.  สำนวน สุภาษิต  คำคม 
            ๒.  ตำนาน  นิทานพื้นบ้าน
            ๓.  เพลงกล่อมเด็ก  เพลงประกอบการละเล่น  เพลง 
                  โฟล์คซอง
            ๔.  ค่าวก้อม  ค่าวซอ  ค่าวธรรม  (ภาคเหนือ)
            ๕.  ค่าวฮ่ำ   เช่น ค่าวฮ่ำบั้งไฟ  ค่าวฮ่ำฉลองวิหาร  ค่าวฮ่ำ 
                  กัณฑ์สลากสร้อย (ภาคเหนือ)
            ๖.  คำอู้บ่าวสาว  (ภาคเหนือ)
            ๗.  ปริศนาคำทาย  
            ๘.  คำให้พรวันปีใหม่  คำสู่ขวัญ
            ** งานข้อ ๑ - ๘ ให้นักเรียนทำรวมเป็น ๑ เล่ม **
            ** ความรู้ ข้อมูล นักเรียนสามารถค้นคว้าได้จากห้องสมุด    
         อินเตอร์เน็ต และผู้รู้ในท้องถิ่น **
             

                                    ----------------------------------------------------------------